เมนู

โกรธเคืองและความน้อยใจ ทั้งคู่นี้ชื่อว่า เนิน) นี้ ควรทราบอรรถา.
ธิบายอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ความขุ่นเคือง ที่สงเคราะห์เข้าในสังขารขันธ์
ด้วย ความน้อยใจที่สงเคราะห์เข้าในเวทนาขันธ์ด้วย ทั้งคู่นี้ชื่อว่า เนิน
และคำนี้ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้เป็นเช่นนั้น แต่ความโลภ
ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถเป็นส่วนเบื้องต้นของกิเลสเพียงดังเนินนี้. ส่วน
โมหะเป็นอันถือเอาแล้วเหมือนกัน ด้วยสามารถแห่งการประกอบเข้าด้วย
กัน ( กับโลภะ ) แล้ว .
[59] บทว่า อนุรโห มํ (ควรฟ้องเราในที่ลับ) มีเนื้อความ
ว่า ภิกษุเช่นกับรูปแรก (ที่ต้องอาบัติ ) ปรารถนาให้ภิกษุทั้งหลายพา
ตนเข้าไปสู่เสนาสนะท้ายวิหารปิดประตู แล้วจึงฟ้อง.
บทว่า ฐานํ โข ปเนตํ ( ก็ข้อนี้แลเป็นเหตุ) หมายความว่า
เหตุนี้มีได้ คือภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาด ได้รับแนะนำ แล้วควรเอาภิกษุนั้น
ไปสู่ท่ามกลางบริษัท 4 แล้วจึงฟ้องโดยนัยมีอาทิว่า ท่านทำเวชกรรม
ในที่ชื่อโน้น. ส่วนข้อความว่า เธอจะเป็นผู้ปรากฏในบริษัท 4 จะปรากฏ
อย่างนี้ด้วย ถูกความเสื่อมยศครอบงำแล้วด้วย ทั้งหมดเหมือนกับข้อ
ความในตอนต้นนั่นแหละ.

คนผู้เท่าเทียมกัน


[60] บทว่า สปฺปฏิปุคฺคโล (คนผู้เท่าเทียมกัน) คือคนตรง
กันข้ามที่เท่าเทียม.
คำว่า เท่าเทียมกัน คือต้องอาบัติเหมือนกัน.
คำว่า คนตรงกันข้าม คือผู้เป็นโจทก์. ภิกษุนี้ต้องการให้ฟ้อง

โดยภิกษุที่ต้องอาบัติเหมือนกัน (เพราะว่า) เธอเข้าใจว่า อาจจะพูด
(ค้าน) ได้ว่า ท่านเองก็ต้องอาบัตินี้ ก่อนอื่นท่านจงทำคืนอาบัตินั้น
ภายหลังจงฟ้องผม. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้เสนอกันแม้โดยชาติเป็นต้น
ชื่อว่า คนเท่าเทียมกัน. อธิบายว่า. ภิกษุนี้ต้องการให้ฟ้องโดยภิกษุผู้เสมอ
กัน ด้วยคุณสมบัติทั้งหลาย แม้มีอาทิอย่างนี้ คือ ด้วยชาติ ด้วยตระกูล
ด้วยความเป็นพหูสูต ด้วยความฉลาด (และ) ธุดงค์ของตน (เธอ )
เข้าใจว่า ทุกข์อย่างยิ่งที่บุคคลเช่นนั้นกล่าวแล้วย่อมไม่มี. คนตรงข้าม
(โจทก์) ที่ไม่คู่ควรกัน ชื่อว่าคนที่ไม่เท่าเทียมกัน ในคำนี้ว่า ไม่ใช่
คนที่ไม่เท่าเทียมกัน
มีอธิบายว่า คนที่เป็นคู่ศัตรูเป็นคู่ต่อสู้ ชื่อว่าไม่
ควรเป็นโจทก์ เพราะไม่เสมอเหมือนกัน โดยอาบัติเป็นต้นเหล่านี้.
ข้อว่า อิติ โส กุปิโต (เพราะเหตุอย่างนี้ เขาจะเป็นผู้โกรธ
เคือง ) มีเนื้อความว่า เพราะเหตุอย่างนี้เขาจะเป็นผู้แค้นเคืองอย่างนี้
เพราะการฟ้องของผู้ไม่เท่าเทียมกันนี้.
[61] ในจตุตถวาร (ตอนว่าด้วยอิจฉาวจรที่ 4) มีวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้ :-
ศัพท์ อโห วต (โอหนอ ) ปรากฏในคำตำหนิก็มี เช่นว่า
เฮ้ยน่าทุเรศจริง ท่านผู้เป็นบัณฑิตของพวกเรา คือว่า เฮ้ยน่าทุเรศจริง
ท่านผู้เป็นพหูสูต และเป็นผู้บรรลุวิชชา 3 ของเราทั้งหลาย. ปรากฏใน
ความปรารถนา (ก็มี) เช่นว่า น่าชื่นใจจริง คนทั้งหลายจะต้องอภิเษก

เราผู้ยังหนุ่มยังแน่นอยู่ไว้ในราชสมบัติ. ในที่นี้ปรากฏในความปรารถนา
เท่านั้น.
คำว่า ปุจฺฉิตวา ปุจฺฉิตฺวา ( ตรัสถานแล้ว ) คือ ตรัสถามแล้ว
ตรัสถามเล่า. ภิกษุผู้มีความต้องการลาภนี้อยากให้พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงย้อนถามตน แต่ต้องการให้ถามปัญหานั้นด้วยถ้อยคำเพื่อให้คล้อยตาม
ไม่ใช่ตรัสถามถึงมรรคผล หรือวิปัสสนา ทำให้มีช่องโหว่ไว้. เพราะว่า
ภิกษุรูปนี้ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงย้อนถามพระมหาเถระทั้งหลายมี
พระสารีบุตร เป็นต้นในท่ามกลางบริษัทอย่างนี้ว่า สารีบุตร โมคคัลลานะ
กัสสปะ ราหุล
เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ? คือ จักษุเที่ยง
หรือไม่เที่ยง แล้วทรงแสดงธรรมไป เห็นพวกมนุษย์กล่าวสรรเสริญคุณ
ของพระเถระเหล่านั้นอยู่ว่า พระเถระผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลาย พระศาสดา
ทรงพอพระทัย ดังนี้ และเห็นพวกเขาน้อมลาภสักการะไปถวายพระเถระ
เหล่านั้นอยู่ เพราะฉะนั้น เธอเมื่อปรารถนาลาภสักการะนั้น ครั้นคิด
อย่างนี้แล้ว ออกไปยืนตรงพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนท่อน
ไม้ที่วางไว้.
บทว่า โส กุปิโต ( เธอโกรธเคืองแล้ว) ความว่า ภายหลัง
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่สนพระทัยเธอเลย แต่ตรัสถามพระเถระรูปอื่น
แล้วทรงแสดงธรรมไป เพราะฉะนั้น เธอจึงโกรธเคืองทั้งพระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
และพระเถระ.
โกรธเคืองพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างไร ?
โกรธเคืองพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า เราตั้งแต่บวช ไม่รู้จัก
การออกไปนอกบริเวณพระคันธกุฎี ทุกเวลาไม่เคยห่างเป็นเช่นกับเงา

แม้เพียงแต่จะตรัสถามเรา แล้วทรงแสดงธรรมเทศนาก็ไม่มี ทรงถาม
พระเถระที่ทรงเห็นเพียงครู่เดียวเท่านั้น แล้วก็ทรงแสดงธรรม.
โกรธเคืองพระเถระอย่างไร ?
โกรธเคืองพระเถระอย่างนี้ว่า พระแก่รูปนี้ นั่งตรงพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกับตอไม้ เมื่อไรนะพระเถระผู้เป็นธรรมกัมมิกะ
(ทำงานเกี่ยวกับธรรม) จักให้พระแก่รูปนี้ถึงฐานะแห่งอภัพพบุคคล
(ผู้ไม่ควรบรรลุมรรคผล ) แล้วขับออกไป (จากหมู่คณะ.) เพราะว่า
ถ้าไม่มีภิกษุรูปนี้ในวิหารนี้ไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเจรจากับเรา
แน่นอน.

พระโกรธ


[62] บทว่า ปุรกฺขตฺวา ปุรกฺขตฺวา (ทำไว้ข้างหน้า ทำไว้
ข้างหน้า) คือทำไว้ (ให้อยู่ ) ข้างหน้า มีคำอธิบายว่า ห้อมล้อม
(ทั้งข้างหน้าและข้างหลัง ).
แม้ภิกษุรูปนี้ก็เป็นผู้อยากได้ลาภเหมือนกัน. เพราะว่า ภิกษุรูปนี้
เห็นภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูตเข้าบ้านพร้อมกับภิกษุผู้เป็นบริวาร กำลัง
ไหว้เจดีย์ และเห็นอุบาสกทั้งหลายผู้เลื่อมใส ( ภิกษุเหล่านั้น ) เพราะ
เห็นคุณธรรมข้อนั้น ของท่านเหล่านั้น แสดง (ทำ) อาการของผู้เลื่อมใส
อยู่ เพราะฉะนั้น เธอจึงต้องการอย่างนี้.
บทว่า กุปิโต (โกรธเคืองแล้ว) หมายความว่า ภิกษุแม้รูปนี้
โกรธเคืองในเพราะเหตุ 2 สถาน คือ โกรธเคืองต่อภิกษุทั้งหลายและ
พระเถระ.